บ้านเรือน ตัวตน คนไท ในอินเดีย
ISBN | 9786163980632 |
ผู้แต่ง | รศ.ดร. ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี, ผศ.ดร. เชาวลิต สัยเจริญไพลิน |
จำนวนหน้า | 360 |
พิมพ์ครั้งที่ | 1 |
วันที่พิมพ์ | เมษายน 2559 |
ประเภท | หนังสือ |
กลุ่มสาขา | สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
เหมาะสำหรับ | นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป |
รายละเอียดปกหลัง | วัฒนธรรมการทำมาหากินโดยการปลูกข้าวนาดำ "เฮ็ดนาเมืองลุ่ม" ทำให้ชาวไทในอัสสัมและอรุณาจัลประเทศ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำพรหมบุตรและแควของแม่น้ำนั้นเช่น น้ำหก (Dhihing river) ปรับแต่งพื้นที่ลุ่มน้ำให้เป็นนา และวางระบบผันน้ำเข้านา เพื่อปลูกข้าวนาดำตามวิถีเดิมสร้างเรือนไม้และไม้ไผ่ที่มีเสาและยกพื้นเรื่อนขึ้นสูง มีใต้ถุน เพื่อให้พ้นจากน้ำเวลาน้ำท่วม มีแต่กลุ่มไทอาหมเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมแบบอินเดียในการสร้างเรือนแบบใช้พื้นดินเป็นพื้นเรือน วัฒนธรรมไทที่ให้ความเข้มข้มกับการเป็นเครือญาติและชุมชน ทำให้ชาวไทอยู่กระจุกตัวเป็นหมู่บ้าน มีหอเสื้อบ้านซึ่งคือที่สิงสถิตของบรรพชนผู้สร้างหมู่บ้าน นิยมแต่งงานภายในกลุ่มคนไทด้วยกัน สร้างเรือนแล้วขยายเพิ่มห้องต่อเรือนให้ยาวออกไปเรื่อยๆ หรือสร้างเรือนเล็กติดกับเรือนใหญ่ เรียกว่าเรือนอ่อน ความสำคัญของครอบครัวในวัฒนธรรมไท ทำให้ห้องครัวหรือที่เตาไฟมีความเป็นพิเศษ เป็นที่ซึ่งสมาชิกต่างรุ่นอายุของครอบครัวจะมาพบปะสัมพันธ์กันในรอบวัน |
ราคาปก
580.00 บาท